Archive for the ‘บทความเกษตร’ Category
บอกตามตรงอย่างไม่อายว่านี่เป็นครั้งแรกในชีวิตที่รู้จักหลอดไฟไล่ยุง!
ที่บางแก้ว, ฉะเชิงเทรา ที่ซึ่งยุงดุกว่าหมาจรจัด จึงต้องหาสารพัดวิธีมาจัดการเจ้ายุงร้าย แต่จนแล้วจนรอดก็ยังก่อความรำคาญมาจนถึงปัจจุบัน
ด้วยความที่เป็นคนชอบเดินซื้อของร้านอุปกรณ์ก่อสร้างบ่อย เลยผ่านไปเห็นด้วยความบังเอิญ วินาทีแรกที่เห็นฉลากสรรพคุณข้างกล่องเท่านั้นแหละ หลงดีใจรีบหยิบมาลองแบบไม่ทันคิด ประหนึ่งเด็กได้ของเล่นใหม่
ในใจก็คิดไป “เย็นนี้รอดแล้ววุ้ย! จะได้อาบน้ำอย่างสบายใจซะที! นี่มันนวัตกรรมเปลี่ยนโลกชัดๆ โดนแน่พวกเอ็ง!”
กลับถึงบ้านไม่รีรอเสียบปลั๊กดูประสิทธิภาพ
และวินาทีแรกที่เห็นก็คือยุงบินมาเกาะที่หลอดไฟ (ไล่ยุง -__-!!!)
แถมยังรู้สึกว่ายุงมาเยอะกว่าปกติแบบไม่ได้เกรงใจหรือให้เกียรติยี่ห้อผู้ผลิตเอาซะเลย
คิดในใจ “ติดฉลากผิดกล่องรึเปล่าว่ะ!”
ทดลองอยู่พักใหญ่ก็ไม่เห็นผลเปลี่ยนแปลง และสุดท้ายก็ต้องผิดหวังอีกตามเคย อาบน้ำตากยุงกันต่อไป
หากจะคุยเรื่องหลอดไฟไล่ยุงนั้น ว่ากันว่าแสงสีส้มจะช่วยให้ยุงมองไม่เห็น แต่ก็พึ่งนึกได้หลังจากซื้อมาแล้ว ว่า “ยุงมันก็ไม่ค่อยจะมองนี่หว่า! บินชนเบ้าตาเป็นประจำ -__-!!! ”
ยุงมันตามกลิ่นกับเสียงสะท้อนไม่ใช่เหรอ! ถึงได้ชอบมาวนเวียนสร้างความรำคาญแถวๆ หู
จริงๆ หลอดไฟไล่แมลงหรือไล่ยุงนั้นคงจะได้ผลกับพื้นที่ของเพื่อนๆ แต่ด้วยความที่ยุงแถวบางแก้วเป็นยุงด้อยโอกาสทางการศึกษาเลยไม่รู้เรื่องแสงสีส้ม เลยไม่สนใจ และหากยุงในพื้นที่ของเพื่อนๆ นั้นเป็นยุงด้อยโอกาสแบบที่สวน ผู้เขียนก็อยากจะแนะนำให้ทำ MOU เซ็นสัญญาตกลงร่วมกันระหว่างยุงกับเจ้าของบ้านให้เรียบร้อยก่อนจะได้เข้าใจกัน (ว่ามึงเห็นแสงสีส้มจากหลอดไฟรูปร่างแบบนี้ให้บินไปไกลๆ -__-!!!)
และจะได้ไม่วิ่งชนเบ้าตาแบบที่บางแก้ว -__-!!!
หรือไม่ก็วนเวียนสร้างความน่ารำคาญแถวๆ หู
รักและเคารพเพื่อนๆ ทุกคนครับ
โอ
จะเรียกว่ารีวิวตู้ฟักไข่ ก็คงไม่ถูกต้องนัก คงต้องเรียกว่าเล่าความซื่อบื้อให้เพื่อนๆ ฟังน่าจะถูกกว่า เผื่อท่านไหนคิดจะใช้ตู้ฟักไข่ที่ผลิตจากจีนจะได้เตรียมตัวเผชิญเหตุสำหรับสายลุ้น 555
ช่วงอาทิตย์แรกที่เริ่มเลี้ยงเป็ด ไปตรงกับช่วงที่เป็ดแม่พันธุ์บางส่วนไข่พอดี แต่ก็ไม่กี่ฟอง จำนวนไม่มากขนาดที่จะซื้อตู้ดีมีมาตรฐานมาใช้ แต่จะต้มก็เสียดาย 555 จะทำเองแบบง่ายๆ ก็ขี้เกียจ -__-!!! มาลงเอยที่ซื้อตู้ฟักไข่ราคาถูกจากร้านค้าออนไลน์มาใช้แก้ขัดไปก่อน ราคาพันต้นๆ ก็พอจะนึกภาพออก
ไม่ได้คาดหวังอัตรารอดเท่าไหร่ เพราะเข้าใจดีด้วยราคาหลักพันต้นๆ (ราคาปลายทางที่ร้านค้าในไทยบวกกำไรไปแล้ว ส่วนราคานำเข้านั้นสงสัยจะหลักร้อย) แต่ก็ไม่นึกว่าจะเลวร้ายกว่าที่คิด 555
เดิมนั้นผู้เขียนโตมาในฟาร์มไก่ เลยคุ้นเคยกับตู้ฟักไข่ที่ใช้หลอดไฟเป็นอย่างดี เห็นมาตั้งแต่เด็ก ตัดภาพมาอีกทีก็มาใช้ตู้ฟักไข่จากจีนที่ใช้ Heater เป็นตัวทำความอบอุ่น บอกตามตรงว่ารู้สึกว้าวววว! ครั้งแรกที่เห็น นึกในใจ แหม่! ของจีนเดี๋ยวนี้เจ๋งว่ะ นวัตกรรมไปไกล รูปลักษณ์ทันสมัย ไม่เลวๆ สำหรับเครื่องพันกว่าบาท
แต่พอใช้งานเท่านั้นแหละ ก็รู้สึกได้ถึงประสิทธิภาพที่สวนทางกับรูปโฉมภายนอก และตัว Heater ที่มาพร้อมกับพัดลมเล็กด้านในตู้ฟักไข่กลับกลายเป็นตัวสร้างปัญหา หากจะอธิบายให้เห็นภาพก็เหมือนเอาไดร์เป่าผมความร้อนอ่อนๆ เป่าไข่อยู่ตลอดเวลา ระยะห่างระหว่างไข่กับตัวทำความร้อนน้อยเกินไปทำให้ไข่ที่ต้องการฟักนั้นแห้งจนเกินไป ช่วงแรกก็ทำงานได้ปกติเพราะเป็นช่วงที่ไข่ที่มีเชื้อกำลังสร้างตัวเลยเน้นใช้ความอบอุ่น ส่วนความชื้นกับอากาศนั้นยังใช้ไม่มาก จนกระทั้งไข่เริ่มเป็นตัวเกือบสมบูรณ์อวัยวะภายในชัดเจนซึ่งช่วงนี้ไข่ในตู้ฟักจะต้องการทั้งความอบอุ่น, ความชื้นและอากาศบริสุทธิ์ที่มากกว่าปกติ และหากไม่เพียงพอก็จะทำให้ไข่นั้นตายได้
** เป็นภาพที่ไม่ค่อยหน้าดูครับ แต่ก็อยากให้เห็นเป็นกรณีศึกษาลูกเป็ดหรือไก่ที่ตายอยู่ข้างใน **
จริงๆ ก็เชื่อว่าตู้มาตรฐานจีนก็ผลิต ส่วนราคานั้นก็ตามเหตุและผล เผอิญโชคร้ายผู้เขียนไปซื้อตู้ราคาถูกที่ทำงานได้ไม่ค่อยดีนัก
สรุปคือจากจำนวนไข่มีเชื้อ 50 กว่าฟองรอดมา 2 ตัว -__-!!!
ไม่ได้คิดปรักปรำหรือใส่ร้ายแต่อย่างใด เพียงแต่อยากเล่าให้เพื่อนๆ ที่คิดจะใช้ตู้ฟักไข่จีนแก้ขัด ให้เตรียมตัวศึกษาหาความรู้เรื่องตู้ฟักไข่สักหน่อยหนึ่ง เพราะต้องปรับปรุงดัดแปลงให้ประสิทธิภาพดีขึ้นจากเดิม
และหากเพื่อนๆ มีกำลังทรัพย์หรือเพิ่มเงินอีกหน่อย ตู้ฟักไข่ฝีมือช่างไทยก็ไม่เลวเลยทีเดียว หลายๆ ท่านทำได้เป็นอย่างดี
ไทยอุดหนุนไทย ฟังดูเข้าท่าเลยนะ (ถึงแม้ว่าอะไหล่ภายในส่วนใหญ่จะมาจากจีนก็ตามที 555)
รักและเคารพเพื่อนๆ ทุกคนครับ
โอ
วันนี้ว่ากันด้วยเรื่องปุ๋ยเคมีที่หลายๆ ท่านเริ่มขยะแขยงเพราะคิดเองเออเองว่า ปุ๋ยเคมีทำลายดินบ้างหละ ทำลายระบบชีวะของแมลงในดินบ้างหละ ต่างๆ นาๆ ซึ่งก็ถูกแต่ก็ไม่ทั้งหมด ต้องขออธิบายตามความเข้าใจพื้นฐานของปุ๋ยเคมีกันก่อนเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันก่อนส่วนท่านผู้อ่านที่ทราบแล้วก็ข้ามไปได้เลยครับกระผม
ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์คือปุ๋ยที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิตจำพวกแร่ธาตุต่างๆ หรือการสังเคราะห์เช่น หินฟอสเฟตบด แอมโมเนียซัลเฟต และล่าสุดได้ข่าวว่าผลิตปุ๋ยจากน้ำมันดิบด้วยซึ่งก็ไม่แน่ใจเท่าไหร่แต่ก็เป็นไปได้ (ข่าวนี้ยังไม่ได้กรองนะครับต้องศึกษากันต่อ) ปุ๋ยเคมีเหล่านี้จัดว่าเป็นแม่ปุ๋ยซึ่งมีความเข้มข้นสูง เช่น 15-15-15 คือ (N) ไนโตรเจน = 15, (P) ฟอสฟอรัส = 15, (K) โปรตัสเซี่ยม = 15 หมายถึงในปุ๋ยเคมี 100 กิโลกรัมจะมีธาตุไนโตรเจนอยู่ 15 กก, ธาตุฟอสฟอรัส 15 กก. และธาตุโปรตัสเซี่ยมอยู่ 15 กก. หรือ 15% นั่นเอง ลองคิดดูเล่นๆ ว่าถ้าเราต้องการใช้ปุ๋ยคอกมูลสัตว์จากไก่แทนที่จะใช้ปุ๋ยเคมีที่ธาตุมีน้อยกว่าจะต้องใช้กี่เท่าตัวแถมอัตราแร่ธาตุก็ไม่ค่อยคงที่เพราะขึ้นอยู่กับอาหารที่สัตว์ชนิดนั้นๆ กินเข้าไป แล้วราคาเท่าไหร่หละ? ปริมาณขนาดนั้นจะหาได้จากไหน? แล้วใครจะมาช่วยใส่ปุ๋ยเยอะขนาดนั้นหละ? โหหหห ล้านแปดคำถามตามมา
แม้ว่าจะมีค่าความเข้มข้นสูงเพียงใดแต่ปุ๋ยเคมีจะไม่มีธาตุอาหารรองหรือเสริมสำหรับพืชเลยซึ่งปุ๋ยเคมีเหล่านี้ไม่สามารถทดแทนปุ๋ยอินทรีย์ได้เพราะไม่มีคุณสมบัติในการปรับโครงสร้างของดินให้ร่วนซุยได้ ยิ่งกว่านั้นเรื่องธาตุอาหารรอง เช่น กำมะถัน, แคลเซี่ยมและแมกนีเซี่ยมหรือธาตุอาหารเสริม เหล็ก (ไม่ใช่เหล็กเส้น บลส. นะ), สังกะสี (ไม่ใช่ที่มุงหลังคาบ้านนะ), แมงกานีส, ทองแดง, โบร่อน, โมลิบดินัม (ชื่อเท่ สุดๆ อ่ะ) และคลอรีนนั้นแทบจะไม่ต้องพูดถึงเพราะมีน้อยยยยยยยย มากกกกก
ส่วน 34-24-35 สูง 160 กว่าๆ พิมพ์นิยมสูตรนี้รีบคว้ามาใช้งานครับ เอ้ย ไม่ใช่หล่ะๆ
เคยมีคำถามหนึ่งจากฝ่ายวิชาการเกษตรว่า “อะไรเป็นสาเหตุให้ดินเสื่อมสภาพ ระหว่างใส่ปุ๋ยเคมีหรือไม่เติมอินทรีย์วัตถุเข้าไปในดิน” เออ น่าคิดไหมหละเพื่อนๆ
สาเหตุหลักของดินเสื่อมมาจากลักษณะนิสัยการทำงานของพวกเราๆ มากกว่าครับ เพื่อนๆ ลองคิดดูสิครับว่าเราปลูกพืชทั้งทีใส่ปุ๋ยแค่ไม่กี่กิโลกรัมต่อไร่แต่กลับขนผลผลิตจำนวนมหาศาลต่อไร่นับเป็นตันๆ เลย แล้วแบบนี้แร่ธาตุในดินมันจะเหลือไหม? ยิ่งใส่ปุ๋ยเคมีมากเท่าไหร่ดินก็ยิ่งเค็มมากเท่านั้นเพราะปุ๋ยเคมีไม่ได้มีคุณสมบัติที่จะปรับปรุงบำรุงดินเลย
แล้วใส่ปุ๋ยยังไงหละถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด
โม้มาซะนาน สุดท้ายก็ได้เวลาตอบซะที
- ใช้ปุ๋ยเคมีให้ถูกขนาดกับพืชที่เราปลูก เช่น ซื้อปุ๋ยสูตร 15-15-15 มาใส่พืชทั้งๆ ที่พืชไม่ได้ต้องการครบทั้ง 3 ตัว แล้วจะซื้อให้แพงทำไมใส่ไปพืชก็ไม่รับ น่าดีใจที่คณะอาจารย์และวิชาการจากวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หลายๆ ท่านออกภาคสนามให้ความรู้กับชาวไร่ชาวสวนเรื่อง “ปุ๋ยสั่งตัด” หรือปุ๋ยที่คัดเอาแต่เฉพาะธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชแต่ละชนิดและแต่ละช่วงเวลา ค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยก็ถูกลงและได้ตรงตามความต้องการจริงๆ
- ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกพื่อให้พืชได้รับสารอาหารครบถ้วนทั้ง ธาตุหลักเข้มข้น ธาตุรองและธาตุอาหารเสริมแถมปุ๋ยคอดหรือปุ๋ยหมักที่มีอินทรีย์วัตถุยังช่วยปรับปรุงบำรุงดินและหลักล้างครามเป็นกรดด่างของปุ๋ยเคมีอีกด้วย เรียกว่าครบเลยทีเดียว